|
[Abstract] [PDF]
The development of mass transit system is one of the leading policies for
government of all times, which contributes to the development of effective public
transportation systems. Moreover, the economic growth, international trading, all leading
to the business center, employment, tourism, especially in the regional city. Even the
regional city has a rapid growth of town area, however, there is still face with an
inefficient public transport system problem. Therefore, the mass transit system
development is the important factor supporting the growth of city.
The feasibility study of mass transit development in 4 provinces, Chiang Mai,
Phuket, Nakhon Ratchasima, and Phitsanulok, found that the projects have low rate of
return on investment because the regional cities are the under developing. Although the
cities growth and population have increased continuously, however, it may not be
sufficient to have a return on investment at a proper level as for the mass transit systems
in Bangkok and its vicinity. Therefore, this study presents the guidelines for Transit
Oriented Development for mass transit system of Chiang Mai as case study to be the
recommendation for sustainable mass transit development(การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเป็นหนึ่งในนโยบายที่สําคัญของรัฐบาลทุกสมัย ซึ่งมุ่งเน้นการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการเติบโตด้าน
เศรษฐกิจการค้าในระดับประเทศ เกิดแหล่งธุรกิจ การจ้างงาน การท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเมืองหลัก
ภูมิภาค ที่มีการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว แต่ยังคงประสบปัญหาระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มี
ประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเมือง
ต่อไป อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาความเหมาะสมของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนใน 4 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพิษณุโลก โครงการมีอัตราผลตอบแทน
การลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากเมืองภูมิภาคเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาความเป็นเมือง แม้ว่าการ
เติบโตของเมืองและประชากรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อาจไม่เพียงพอให้โครงการมีผลตอบแทนการ
ลงทุนในระดับที่เทียบเคียงกับระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ ดังนั้น
การศึกษานี้ได้นําเสนอแนวทางการการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented
Development: TOD) จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอย่างยั่งยืน)
|