Details
โครงการการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System การอบรมครั้งที่ 4 เรื่อง ?แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย?

Title โครงการการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System การอบรมครั้งที่ 4 เรื่อง ?แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย?
Author สำนักบริหารวิจัย
Date วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562
Length 3.30 ชั่วโมง
Subject นักวิจัยรุ่นใหม่, พัฒนาศักยภาพนักวิจัย, อบรมนักวิจัย
Location อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา ห้องประชุม 801
Description เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุม 801 อาคารจามจุรี 10 สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดอบรม ?โครงการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน (Multi Mentoring System)? ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ ?แนวทางการขยายและต่อยอดโครงการวิจัย? โดยมี ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน การอบรมครั้งนี้มีการบรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ ?การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (ภายในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย)? โดย ศ.น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และ ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว. ?การใช้ประโยชน์วิจัยเชิงสังคม ชุมชน และเชิงนโยบาย? โดย ศ.ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ หัวหน้าศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจาก ชีวมวล คณะวิทยาศาสตร์ ศ.ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิศวกรรมธรณีเทคนิคและธรณีสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา ?งานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การทำวิจัยกับภาคอุตสาหกรรม? โดย ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ และ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการด้านพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรในระดับวิจัยและนวัตกรรม สกว. โครงการ ?การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ผ่าน Multi Mentoring System? ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อยกระดับและสร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพในการวิจัย กระตุ้นและผลักดันให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีแนวคิดการดำเนินงานวิจัย ได้เรียนรู้และเพิ่มทักษะของการเป็นนักวิจัยมืออาชีพจากนักวิจัยพี่เลี้ยง (mentors) และได้รับการเกื้อหนุนติดตามจากโค้ชในแต่ละสาขาหรือมหาวิทยาลัย รวมถึงหัวหน้าทีมโค้ช (head coach) ในแต่ละภาคพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของการทำงานวิจัยแบบบูรณาการผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายวิจัย การประชุมและเวทีเสวนา และสามารถยกระดับคุณภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ได้ในอนาคต