Details
?เปิดบ้านจุฬาฯ หารือกระทรวงการอุดมศึกษาฯ? ระหว่างตัวแทนประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ภาพข่าว

Title ?เปิดบ้านจุฬาฯ หารือกระทรวงการอุดมศึกษาฯ? ระหว่างตัวแทนประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ภาพข่าว
Author จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Date วันอังคารที่ 23 กรกฏาคม 2562
Length 0.29 ชั่วโมง
Subject รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, สังคมสูงวัย, พัฒนามหาวิทยาลัยไทย
Location จามจุรี 4 ห้อง 202
Description เมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกระทรวงที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ได้เดินทางมาพบปะและหารือกับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย การศึกษาและการวิจัยในระดับอุดมศึกษา โดย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ พร้อมตัวแทนผู้บริหารและคณาจารย์นำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Transformation) ที่มุ่งเน้นในสามเรื่องหลักๆ คือ การเรียนรู้ การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม ในโอกาสนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ให้สัมภาษณ์และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 จากนั้น ดร.สุวิทย์ ได้พบปะพูดคุยกับตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ณ Plearn Space ชั้นล่าง อาคารเปรมบุรฉัตร การพบปะและหารือกับผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ ในครั้งนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ได้นำเสนอนโยบายของกระทรวงแห่งใหม่ต่อผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเน้นใน 3 ด้านคือ การสร้างและพัฒนาคน การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ และการสร้างและพัฒนานวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงในโลกศตวรรษที่ 21 ทำให้การศึกษาวิจัยในรูปแบบเดิมไม่ตอบโจทย์ความต้องการอีกต่อไป สถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองครั้งใหญ่ การมาเยี่ยมจุฬาฯ เป็นที่แรกก็เพื่อปักหมุดให้เห็นว่ากระทรวงการอุดมศึกษาฯ ตั้งใจจะทำงานกับจุฬาฯ เพื่อสร้างการปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน ?จุฬาฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยกว่าปีที่แล้ว เมื่อประเทศต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ปัจจุบันเกิด Disruption ครั้งใหญ่ ทำให้ต้องปฏิรูปอีกครั้ง ซึ่งกระทรวง อว. มองว่าจุฬาฯ คือเสาหลักแห่งภูมิปัญญาของประเทศชาติจึงได้มาเริ่มต้นการสร้างคุณค่าร่วมกัน (co-creation) ของอุดมศึกษาที่นี่? ดร.สุวิทย์ กล่าวว่ากระทรวง อว.จะปรับบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวยสนับสนุน (enabler) ไม่ใช่ผู้คุ้มกฏ (regulator) และช่วยปลดล็อคศักยภาพของทุนทางปัญญาในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ อุดมศึกษาต้องตอบโจทย์สังคมในแง่ของการ upskill (เพิ่มทักษะ) และ reskill (สร้างทักษะใหม่) สร้าง smart citizen ให้แรงงานที่มีความจำเป็นต้องปรับตัว ตลอดจนการเปิดพื้นที่การศึกษาให้ผู้สูงวัย และผู้เรียนที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบการศึกษาดั้งเดิม ยิ่งไปกว่านั้น การสร้างระบบนิเวศยังเอื้อต่อการรังสรรค์นวัตกรรมในมหาวิทยาลัย โดยยกตัวอย่างแนวทางของการจัดตั้งกองทุนยุวสตาร์ทอัพ เพื่อบ่มเพาะผู้ประกอบการนวัตกรรม และสร้างมโนทัศน์ของการเป็นผู้ประกอบการให้คนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวง อว. ยังชูแคมเปญใหม่คือ ?Innovated in Thailand? เน้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในทุกระดับของประเทศและให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยสร้างนวัตกรรมกับผู้ประกอบการ เช่น Startups กับ SMEs ต้องร่วมกันสร้างผลผลิตและคุณค่าใหม่ให้เศรษฐกิจและสังคม